วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ระบบนิเวศ ต่อ 1

ผู้ย่อยสลาย
ผู้ย่อยสลาย (Decomposers or Saprotrops) คือ สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ ได้แก่ รา (Fungi) กับ แบคทีเรีย (Bacteria)ดำรงชีวิตโดยการปล่อยเอนไซม์ออกมาย่อยอินทรีย์สารที่อยู่ในซากพืชซากสัตว์ให้เป็นอนินทรีย์สาร แล้วดูดซึมส่วนที่เป็นอนินทรีย์สารเข้าไปใช้เป็นอาหาร บางส่วนจะเหลือไว้ให้ผู้ผลิตนำไปใช้ผู้ย่อยสลาย จึงเป็นผู้ที่แปรสภาพสารอาหารจากสารประกอบอินทรีย์ให้เป็นสารอนินทรีย์ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถนำไปใช้ในการสังเคราะห์สารอาหารได้ เป็นส่วนสำคัญทำให้สารอาหารหมุนเวียนเป็นวัฏจักร
สิ่งมีชีวิตชนิดนี้จึงไม่มีระบบย่อยอาหาร
การหมุนเวียรสาร
การหมุนเวียนของสารหรือวัฏจักรของสาร เป็นการหมุนเวียนของสารจากสิ่งไร้ชีวิตผ่านสิ่งมีชีวิต และมีการหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงถูกนำไปใช้ได้อย่างเดิม ทำให้ปริมาณของสารในธรรมชาติที่มีอยู่ไม่หมดสิ้น วัฏจักรของสารมี 2 ประเภท คือ
วัฏจักรของสารที่มีบรรยากาศ (Gaseous type) เป็นแหล่งสำรองและรองรับ สารเหล่านี้จะมีอยู่เป็นรูปของก๊าซ วัฏจักรแบบนี้มักไม่มีการขาดแคลน และไม่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น
  • วัฏจักรน้ำ (Water cycle)
  • วัฏจักรไนโตรเจน (Nitrogen cycle)
  • วัฏจักรคาร์บอน (Carbon cycle)
  • วัฏจักรออกซิเจน (Oxygen cycle)

วัฏจักรของสารที่มีพื้นดิน (Sedimentary type) เป็นแหล่งสำรองและรองรับ สารเหล่านี้ถูกปล่อยจากพื้นดินเข้าสู่วัฏจักรโดยขบวนการผุกร่อน วัฏจักรแบบนี้ขาดแคลนได้ง่าย เนื่องจากมีการตกตะกอน จึงมีโอกาสเวียนเข้าสู่อินทรีย์ได้น้อยลงทุกที ทำให้วัฏจักรไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เช่น

  • วัฏจักรแคลเซียม (Calcium cycle)
  • วัฏจักรฟอสฟอรัส (Phosphorus cycle)
Food chain
1. ห่วงโซ่อาหาร (food chain) คือ การกินต่อกันเป็นทอดๆ มีลักษณะเป็นเส้นตรง สิ่งมีชีวิตหนึ่งมีการกินอาหารเพียงชนิดเดียว ซึ่งเขียนเป็นลูกศรต่อกัน แบ่งออกเป็น 3 แบบ
  • 1.1 ห่วงโซ่อาหารแบบจับกิน (Predator chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากพืชไปยังสัตว์กินพืช สัตว์กินสัตว์ ตามลำดับ
  • 1.2 ห่วงโซ่อาหารแบบย่อยสลาย หรือแบบเศษอินทรีย์ (Saprophytic chain or detritus chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มต้นจากซากอินทรีย์ถูกสลายโดยจุลินทรีย์ แล้วจึงถูกกินต่อไปโดยสัตว์ที่กินเศษอินทรีย์ และผู้ล่าต่อไป ตามลำดับ
  • 1.3 ห่วงโซ่อาหารแบบพาราสิต (Parasitic chain) เป็นห่วงโซ่อาหารที่เริ่มจากผู้ถูกอาศัยไปยังผู้อาศัยอันดับหนึ่ง แล้วไปยังผู้อาศัย ลำดับต่อๆ ไป
Food web สายใยอาหาร
สายใยอาหาร (Food web) หมายถึง การถ่ายทอดพลังงานเคมีในรูปอาหารระหว่างสิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดมารวมกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดพลังงานที่ซับซ้อนการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ จะไหลไปในทิศทางเดียว คือ เริ่มต้นจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค ขณะเดียวกันก็มีการสูญเสียพลังงานออกไปในแต่ละลำดับ ไม่มีการเคลื่อนกลับเป็นวัฏจักร จึงกล่าวได้ว่า การถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศไม่เป็นวัฏจักร (Non - cyclic)




สิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญต่อชีวิตอาจแบ่งออกเป็นปัจจัยใหญ่ๆ ได้ 2 อย่าง คือ

1. ปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่ไร้ชีวิต

  • -1.1 สภาพของบรรยากาศ ได้แก่ อุณหภูมิ แสงสว่าง ความชื้น กระแสลม แต่ละแห่งสิ่งมีชีวิตจะมีลักษณะเฉพาะ
  • -1.2 สภาพของดินและน้ำ ดินเป็นกรด เบส ทำให้พืช แตกต่างกันออกไป มีผลทำให้สัตว์ซึ่งเป็นผู้บริโภคจะแตกต่างกันออกไปด้วย
2. ปัจจัยทางชีวภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกัน
  • 2.1 ภาวะพึ่งพากัน ( Mutualism ) ทั้งสองฝ่าย เมื่ออยู่ร่วมกันแล้วต่างก็ให้ประโยชน์แก่กัน เช่น แบคทีเรียไรโซเบียม ที่รากต้นถั่วตรึงไนโตรเจนจากอากาศสะสมไว้ที่รากต้นถั่ว เป็นสารประกอบไนเตรตทำให้ต้นถั่วได้ปุ๋ย ในการเติบโตต่อไป
  • 2.2 ภาวะได้ประโยชน์ร่วมกัน ( Protocooperation ) คล้ายภาวะพึ่งพากัน แต่ตั้งคู่ไม่ได้อยู่ด้วยกันตลอดเวลา เช่น ดอกไม้กับแมลง ดอกไม้ได้ประโยชน์โดยแมลงช่วยผสมเกสร แมลงได้น้ำหวานจากดอกไม้
  • 2.3 ภาวะเกื้อกูลกัน หรือ ภาวะอิงอาศัย ( Commensalism ) ฝ่ายหนึ่งได้ประโยชน์ อีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้และไม่เสีย เช่น กล้วยไม้เกาะบนคบไม้ กล้วยไม้ได้ประโยชน์แต่ต้นไม้ไม่ได้และไม่เสียประโยชน์
  • 2.4 ภาวะล่าเหยื่อ ( Predation ) ฝ่ายได้ประโยชน์ คือ ผู้ล่า ( Predator ) เช่น แมว ฝ่ายเสียประโยชน์คือ เหยื่อ ( Prey ) เช่น นก
  • 2.5 ภาวะมีปรสิต ( Parasitism ) ฝ่ายได้ประโยชน์ คือ ปรสิต ( parasite ) เช่น กาฝาก ฝ่ายเสียประโยชน์ คือ ผู้ให้อาศัย ( Host ) เช่น ต้นมะม่วง
  • 2.6 ภาวะการแข่งขันกัน ( Competition ) ต่างแก่งแย่งอาหารและที่อยู่ จึงทำให้เสียประโยชน์ทั้งคู่ อาจรุนแรงจนกระทั่งอยู่ฝ่ายหนึ่ง ตายฝ่ายหนึ่ง หรือ อยู่ทั้งคู่ก็ได้ เช่น จอกกับแหน ในบ่อน้ำ
  • 2.7 ภาวะเป็นกลาง ( Neutralism ) อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันแต่ต่างฝ่ายต่างอย ู่ เช่น ตั๊กแตนในนาข้าว กับ ไส้เดือนดิน

กลับไปยังหน้าแรก

  • จัดทำโดย
  • น.ส.วชิราพร โพธิ์จุมพล น.ส.อรุณี ยังขจรเกียรติ์ นาย อนิรุจน์ แกว่นธัญกิจ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1
  • อาจารย์ประจำรายวิชา นายชิตพล เพชรวารี
  • โรงเรียนคลองลานพัฒนาจินดาศักดิ์